ประวัติ
วันเกิด 24 มีนาคม 2435
สถานที่เกิด ตำบลวัดมกุฎกษัตริย์ อำเภอป้อมปราบ จังหวัดพระนคร
บิดา-มารดา
นายเจิม - นางจอน ประจนปัจจนึก
สถานภาพสมรส สมรสกับ นางประจนปัจจนึก(พุ่ม)
การศึกษา
ปีพุทธศักราช 2453 โรงเรียนนายร้อยทหารบก
บรรดาศักดิ์
7 พฤษภาคม 2471 พระประจนปัจจนึก
7 พฤษภาคม 2463 หลวงประจนปัจจนึก
ยศทางทหาร
4
พฤษภาคม 2496 พลเอก
7 กันยายน 2486 พลโท
19 มิถุนายน 2486 พลตรี
1 เมษายน 2477 พันเอก
24 เมษายน 2474 พันโท
25 เมษายน 2465 พันตรี
23 พฤษภาคม 2459 ร้อยเอก
11 เมษายน 2455
ร้อยโท
12 มีนาคม 2453 ร้อยตรี
ตำแหน่งสำคัญทางทหาร
13 กรกฎาคม 2493 - 18 มีนาคม 2499
ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
1 กันยายน 2487 ประจำกรมเสนาธิการ
31 สิงหาคม 2487 ผู้อำนวยการหน่วยโยธาธิการ
8 กรกฎาคม 2481 พลาธิการทหารบก
17 มิถุนายน 2481 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
4 เมษายน 2477 ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 1
7 มกราคม 2477 จเรทหารบก
1 มกราคม 2476 รองผู้บังคับการทหารราบ
1 สิงหาคม 2475 ผู้บังคับกองพัน ในกรมทหารราบที่ 4
2 ธันวาคม 2473 ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 5
1 เมษายน 2471 ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารมหาดเล็ก
1 พฤษภาคม 2470 ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
1 สิงหาคม 2469 ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
1 สิงหาคม 2462 ปลัดกรมทหารพราน ในกองพลทหารบกที่ 3
มิถุนายน 2459
ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กรมทหารราบที่ 2
มกราคม 2456
ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กรมทหารราบที่ 2
2455 ผู้รั้งผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กรมทหารราบที่ 12
ตำแหน่งนายทหารพิเศษ
4 กุมภาพันธ์ 2496 ราชองครักษ์พิเศษ
15 พฤษภาคม 2478 ราชองครักษ์เวร
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
1 ธันวาคม 2494 - 20 ตุลาคม 2501 ประธานสภาผู้แทนราษฎร (11 สมัย)
12 กันยายน 2477 - 24 มิถุนายน 2487 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร (10 สมัย)
3 กุมภาพันธ์ 2502 - 30 มิถุนายน 2511 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
18 กันยายน 2500 - 20 ตุลาคม 2501 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
30 พฤศจิกายน 2494 - 16 กันยายน 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
24 พฤษภาคม 2489 - 9 พฤศจิกายน 2490 สมาชิกวุฒิสภา
9 ธันวาคม 2476 - 10 พฤษภาคม 2489 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (ไทย)
5 พฤษภาคม 2498 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
5 กรกฎาคม 2497 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
6 กรกฎาคม 2496 เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 2 (รัชกาลที่ 9)
31 พฤษภาคม 2495 มหาวชิรมงกุฎ
14 กรกฎาคม 2486 เหรียญช่วยราชการเขตภายใน (สงครามมหาเอเซียบูรพา)
7 เมษายน 2484 เหรียญชัยสมรภูมิ (กรณีพิพาทอินโดจีน)
การดำรงตำแหน่งและผลการปฏิบัติราชการสำคัญ
เมื่อปีพุทธศักราช 2453 นักเรียนนายร้อยพุก มหาดิลก สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังการเข้ารับการศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช 2449 ได้รับเลขประจำตัวหมายเลข 1532 และได้มีโอกาสเป็นนายทหารสัญญาบัตรอย่างเต็มภาคภูมิโดยได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี ในวันที่ 12 มีนาคม พุทธศักราช 2453 ด้วยลักษณะผู้นำหน่วยที่ดีในระยะต้นของชีวิตราชการร้อยตรี พุกจึงมีโอกาสดำรงตำแหน่งผู้นำหน่วยมาโดยตลอด เริ่มจากการดำรงตำแหน่งผู้รั้งบังคับกองร้อยที่ 4 กรมทหารราบที่12 ขณะดำรงยศร้อยโท และได้เป็นผู้บังคับกองร้อยเต็มตัวในปีถัดมาที่กองร้อยที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 จากความดีความชอบในการปฏิบัติราชการ ร้อยเอกพุกได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ โปรดกระหม่อมพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "หลวงประจน ปัจจนึก" เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักาช 2463 ขณะครองยศพันตรีแล้ว
จากความซื่อตรงจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูง หลวงประจนปัจจนึก จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 2 และกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ในช่ีวงปีพุทธศักราช 2469 และ 2470 ตามลำดับ จากนั้นได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารมหาดเล็กเมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2471 ในเดือนต่อมาได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระประจนปัจจนึก" จนถึงปลายปีพุทธศักราช 2473 จึงย้ายไปเป็นผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 และหลังจากรับพระราชทานยศพันโทเมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2474 ได้ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ 4 จนได้เป็นผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ 1 ขณะดำรงยศพันโท พระประจนปัจจนึก ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลทหารบกกลางด้วย
พันเอกพระประจนปัจจนึกได้มีโอกาสเข้าร่วมรบในสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2483 ถึง 20 มกราคม พุทธศักราช 2484 ขณะที่เข้าสู่สมรภูมินั้นดำรงตำแหน่งเป็นพลาธิการทหารบก และหลักงจากกลับจากราชการสงครามได้ไม่นาน ท่านได้รับพระราชทานยศพลตรี ต่อมาในปีพุทธศักราช 2485 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และในปีถัดมาคือในวันที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2486 ได้รับพระราชทานยศพลโท ในขณะทำการรบในสงครามมหาเอเซียบูรพา ซึ่งท่านได้ร่วมปฏิบัติการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2486 ในตำแหน่งแม่ทัพกองทัำพที่ 2 และจบภารกิจเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พุทธศักราช 2487
เมื่อกลับจากราชการสนาม พลโทพระประจนปัจจนึก ได้ย้ายเข้ามาประจำกรมเสนาธิการทหาร และได้ลาออกจากประจำการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2488 แต่ในที่สุดก็ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พุทธศักราช 2493 ในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จนถึงวันที่ลากออกจากประจำการอีกครั้งเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พุทธศักราช 2499
ระหว่างที่กลับเข้ารับราชการในช่วงหลังนี้พลโทพระประจนปัจจนึก ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานยศพลเอกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496 หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชองค์รักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2496
สำหรับชีวิตข้าราชการการเมืองของ พลเอกประจนปัจจนึก เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปีพุทธศักราช 2476 เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ปีพุทธศักราช 2475 โดยเข้าดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2476 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 จากนั้นเป็นต้นมา ท่านก็ได้รับการยอมรับนับถือจากสมาชิกสภาด้วยกัน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกมาเกือบทุกสมัย จนในช่วงหลังสุดได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่งปีพุทธศักราช 2502 ถึงปีพุทธศักราช 2511
ในการปฏิบัติราชการด้านรัฐสภา มิใช่เพียงการเป็นสมาชิกสภาตามที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น หากแต่พลเอก พระประจนปัจจนึก ยังมีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ ในระดับสูงสุดของสภาผู้แทนราษฎรด้วย คือดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรถึง 11 สมัย ในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2494 จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม พุทธศักราช 2501 และเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรรวม 10 สมัย ในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน พุทธศักราช 2477 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2487 ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2531
ระหว่างการรับราชการไม่ว่าฐานะข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง พลเอกพระประจนปัจจนึก ได้ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ อดทน ขยันหมั่นเพียร และซื่อตรงจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างยิ่ง นับเป็นแบบอย่างที่ดีที่ชนรุ่นหลักจะพึงยึดถือปฏิบัติสืบไป

