พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ ๒

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติ อาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ หริสกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณ อกนิฐฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร”





พระราชกรณียกิจ
-ทรงตรากฎหมายห้ามสูบซื้อขายฝิ่นใน พ.ศ.๒๓๕๔ และ พ.ศ.๒๓๖๒ โดยกำหนดบกลงโทษแก่ผู้สูบฝิ่นไว้อย่างหนัก
-ทรงปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดสักเลกเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๓ เพื่อเรียกเกณฑ์ไพร่พลเข้ารับราชการ โดยลดเวลาให้ไพร่มารับราชการเพียง ๓ เดือน ทำให้ไพร่มีเวลาทำมาหากินส่วนตัวมากขึ้น
-โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งด้วยการสถาปนาโบสถ์และวิหารใหม่ เสริมพระปรางค์องค์เติมให้ใหญ่ขึ้น และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
-ทรงให้แปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจคำสอนต่างๆได้ง่ายขึ้น
-ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๐ ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในสมัยสุโขทัย
-ทรงปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ทั้งโขนและละคร ซึ่งกลายเป็นต้นแบบมาถึงปัจจุบัน ทรงประพันธ์เพลง “บุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลันลอยฟ้า”
-ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย เช่น ขุนช้างขุนแผน คาวี สังข์ทอง อิเหนา ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมและศิลปกรรม
-ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนี ที่วัตสุทัศนเทพวรารามปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร
-ทำการค้ากับจีนจนมีความเจริญรุ่งเรืองมาก รวมถึงมีพ่อค้าและขุนนางจีนเข้ามาทำงาน
พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง